“กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” กับความคืบหน้า “เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ” 
พร้อมประกาศให้การสนับสนุนบริการรถจักรยานยนต์พยาบาลฮอนด้าเพิ่มเติมอีก 10 คัน 
เพื่อต้านภัยโควิด-19
  • 16 Apr 2020
  • News

“กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” กับความคืบหน้า “เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ” 
พร้อมประกาศให้การสนับสนุนบริการรถจักรยานยนต์พยาบาลฮอนด้าเพิ่มเติมอีก 10 คัน 
เพื่อต้านภัยโควิด-19

(กรุงเทพฯ – 16 เมษายน 2563) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก เช่นเดียวกับสังคมไทยที่กำลังเผชิญและร่วมกันต่อสู้อย่างเต็มกำลัง วิกฤตดังกล่าวส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการ กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย พร้อมอยู่เคียงข้างและให้ความช่วยเหลือคนไทยต้านภัยโควิด-19 เล็งเห็นความสำคัญของการสาธารณสุข รวมถึงการป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้รักษาผู้ติดเชื้อได้อย่างปลอดภัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลวชิรพยาบาล เพื่อนำทักษะและความเชี่ยวชาญที่มีอยู่มาผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบแรงดันลบ จำนวน 100 เตียง เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับโรงพยาบาลกว่า 90 แห่งทั่วประเทศ พร้อมประกาศให้การสนับสนุนเพิ่มเติมบริการรถจักรยานยนต์พยาบาลฮอนด้า (Motorlance) อีก 10 คัน

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย จัดตั้งทีมเฉพาะกิจผลิตเตียงฯ พร้อมให้การสนับสนุนเพิ่มเติมบริการรถจักรยานยนต์พยาบาลฮอนด้า (Motorlance) 10 คัน 

นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่าฮอนด้า พร้อมเคียงข้างคนไทยในทุกสถานการณ์ ในครั้งนี้ เราได้ตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นเพื่อพัฒนานวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ ช่วยให้ไม่ต้องรอการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ปัจจุบันเป็นที่ต้องการทั่วโลก ซึ่งจะมีการผลิตเตียงฯ โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า .พระนครศรีอยุธยา โดยมีพนักงานจากสายการผลิตที่หยุดเดินสายการประกอบรถยนต์ชั่วคราวเป็นจิตอาสาดำเนินการผลิต ภายใต้การควบคุมคุณภาพการผลิตของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งขณะนี้ผ่านการทดสอบทางการแพทย์และเริ่มการผลิตแล้ว โดยจะทยอยส่งมอบให้กับโรงพยาบาลกว่า 90 แห่งทั่วประเทศ ได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2563 นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังได้ให้การสนับสนุนเพิ่มเติม โดยมอบบริการรถจักรยานยนต์พยาบาล (Motorlance) 10 คัน ซึ่งดัดแปลงจากรถจักรยานยนต์ฮอนด้า CBR250R ที่มีสมรรถนะสูงปราดเปรียวคล่องตัว และสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีในภาวะการจราจรติดขัดหรือในพื้นที่คับแคบ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วย” 

เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบแรงดันลบทั้งขาดแคลน ทั้งต้นทุนสูง 

 

ผศ.นพ.อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ทางมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้พยายามคิดค้นนวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบขึ้นมาเพื่อการใช้งานทางการแพทย์ เพราะเดิมมีจำนวนน้อยและเป็นที่ต้องการ อีกทั้งต้นทุนการนำเข้ามาจากต่างประเทศสูงถึงเตียงละ 500,000 – 1,000,000 บาท ซึ่งเตียงนี้จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด ในครั้งนี้ฮอนด้าได้ต่อยอด คือ มีการพัฒนาทั้งระบบปรับความดันและการกรองละอองขนาดเล็กได้ดีขึ้นกว่าต้นแบบ รวมทั้งมีการใส่ ถังออกซิเจนที่จำเป็นเพิ่มเข้าไป ซึ่งผลทดสอบทางการแพทย์เป็นที่น่าพอใจ ขอขอบคุณทีมงานและการส่งต่อไปให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศด้วย โดยเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ยุติลงเตียงเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้กับกลุ่มผู้ป่วยวัณโรค หรือผู้ป่วยทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อีกด้วย

ความคืบหน้าการผลิต เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแบบแรงดันลบของกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย

ด้านนายวัลลภ เหลืองสีนาค ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปส่วนงานบริหาร ตัวแทนทีมวิศวกรจิตอาสา บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงความคืบหน้าในการผลิตเตียงฯ ว่า ได้ต่อยอดแนวคิดเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบจากต้นแบบของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยได้พัฒนาระบบปรับความดันอากาศให้สามารถดูดลมและกรองอากาศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคุมให้มีแรงดันลบภายในไม่ต่ำกว่า -20 ปาสคาล (นิวตันต่อตารางเมตร หรือ N/m2) เพื่อไม่ให้เชื้อกระจายออกสู่ภายนอก พร้อมทั้งปรับตัวกล่องกรองอากาศ HEPA Filter  (High-efficiency Particulate Air Filter) ให้สามารถกรองฝุ่น 0.3 ไมครอนได้ 99.9% นอกจากนี้ ยังมีการปรับตัวกล่องให้กระชับมากขึ้น และเผื่อให้มีพื้นที่สำหรับเพิ่มถังออกซิเจนเข้าไปได้ ทางทีมฯ รู้สึกภูมิใจที่ได้นำทักษะในการผลิตรถยนต์ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ ที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงด้วย ซึ่งหลังจากนี้ จะทยอยส่งมอบไปยังโรงพยาบาลต่างๆ จนครบตามจำนวน 100 เตียง ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2563” รายละเอียดอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ทั้งนี้ กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ต้านภัยโควิด-19 ได้สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท ที่ประกอบด้วย 

  • สนับสนุนบริการรถพยาบาลของกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย 10 คัน ซึ่งดัดแปลงจากรถยนต์ฮอนด้า สเตปแวกอน ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

  • สนับสนุนบริการรถจักรยานยนต์พยาบาล (Motorlance) 10 คัน ซึ่งดัดแปลงจากรถจักรยานยนต์ฮอนด้า CBR250R เพื่อให้การช่วยเหลือและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปได้อย่างคล่องตัว 

  • เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ (Negative Pressure Mobile Bed) 100 เตียง โดยมีพนักงานสายการผลิตรถยนต์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นทีมผลิต  

  • หน้ากากกันกระเด็น (Face Shield) 1,000 ชิ้น ที่เกิดจากการรวมพลังของพนักงานจิตอาสาบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด 

ชุดป้องกันเชื้อ หรือ Personal Protective Equipment Suit (PPE Suit) 10,000 ชุด ให้บุคลากรทางการแพทย์ใส่รักษาผู้ป่วยโควิด-19

  • หน้ากากอนามัย (Face Mask) 100,000  ชิ้น ที่จัดซื้อจากกรมราชทัณฑ์ เพื่อมอบให้แก่ชุมชนใกล้เคียงโรงพยาบาล

ทั้งนี้ งบประมาณของกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยที่สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ในครั้งนี้ รวมมูลค่ากว่า40 ล้านบาท มาจากเงินสมทบจากการจำหน่ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ ซึ่งลูกค้าผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของฮอนด้าล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม และยังเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกองทุนฯ ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคนไทยและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อให้สังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้ด้วยดี และจะเดินหน้าสร้างประโยชน์สุขให้กับคนไทย ดังเจตนารมณ์ของฮอนด้าในการสร้างสรรค์คุณค่าเพื่อเป็นองค์กรที่สังคมไทยต้องการให้ดำรงอยู่ตลอดไป

>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<

Honda Khiang Khang Thai Fund Update on the Progress of Negative Pressure Mobile Bed Production, Fund Provides Another 10 Honda Motorlances to Fight Against COVID-19

(Bangkok – 16 April 2020) The COVID-19 pandemic is affecting people’s lives around the world. Thai society is also affected and putting full efforts into fighting against the pandemic, which has led to a shortage of necessary medical supplies and equipment. As the Honda Khiang Khang Thai Fund (HKKT), under the Honda Thailand Foundation, is here to stay and ready to help Thais fight against COVID-19, it understands the importance of protecting the public health system as well as ensuring the safety of the medical staff helping patients who have been diagnosed with COVID-19. The HKKT Fund has worked in cooperation with Vajira Hospital to determine the best way to adapt Honda’s skills and expertise to produce 100 negative pressure mobile beds that will be distributed to over 90 hospitals across Thailand. The HKKT Fund will also provide another 10 Honda Motorlances (Motorcycle Modified for Emergency Rescue) as part of its relief efforts.

HKKT Fund Sets Up a Dedicated Team to Produce Mobile Beds and Provides 10 Additional Honda Motorlances (Motorcycle Modified for Emergency Rescue)

Mr. Pitak Pruittisarikorn, Managing Director of the HKKT Fund, said, “Honda is ready to stand with Thai people in any situation. We have set up a dedicated team to develop the negative pressure mobile beds so there is no waiting for the much-needed imported equipment. Production is taking place at our plant in Ayutthaya province by volunteer associates from the assembly line, which has been suspended temporarily, with the close cooperation of and quality control by the Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. The mobile beds have been tested, approved, and started production, and we expect to gradually deliver all of them to over 90 hospitals around the country by early May 2020. The HKKT Fund will also put 10 motorlances (Motorcycle Modified for Emergency Rescue) into service. As they are modified CBR250R motorcycles that offer high performance and versatility, the motorlances are well suited for congested areas and narrow lanes to better access and transport COVID-19 patients.”

Negative Pressure Mobile Beds: Short in Supply and High Cost

Asst. Prof. Dr. Anusaeng Chitsomkasem, Associate Dean, Faculty of Medicine, Vajira Hospital, Navamindradhiraj University, said, “In light of the COVID-19 outbreak in Thailand, the university tried to develop a negative pressure mobile bed to make up for the limited number available in the country while meeting increasing demand. The cost of an imported mobile bed is as high as 500,000 to one million baht each. These mobile beds make transporting patients safe for everyone. Honda has improved the pressure adjustment and small droplet filtering systems of the original model, and the mobile bed can also accommodate the necessary oxygen tank. Tests by medical professionals yielded satisfactory results. Therefore I’d like to thank the Honda team and am grateful that they will distribute these mobile beds to hospitals around Thailand. After this situation is over, the mobile beds can be used for patients with tuberculosis and other respiratory diseases.”

Progress of HKKT’s Negative Pressure Mobile Bed production

Mr. Wallop Luangseenak, Administration Assistant General Manager, representing the volunteer engineering team from Honda Automobile (Thailand) Co., Ltd., explained, “Our team enhanced Vajira Hospital’s original version of the negative pressure mobile bed. The improved version can pump out and filter air using a more efficient pressure adjustment system, with the air pressure controlled so it goes no lower than -20 pascal (newton per meter or N/m2) to prevent cross-contamination. The new HEPA Filter (High-efficiency Particulate Air Filter) can filter out 0.3 micron particles at 99.9% efficiency. We have improved the box so it is more compact and created more space so the oxygen tank can fit in. Our team is proud that we can adapt our automotive assembly skills to produce these negative pressure mobile beds. They will help to reduce the spread of COVID-19 while enhancing safety for the medical staff who are taking care of patients in the high-risk group. We will gradually complete delivery of the 100 beds by early May 2020.” 

Details of the medical equipment provided by the HKKT Fund

To help fight against COVID-19, the HKKT Fund is providing medical equipment worth over 40 million baht as follows:

  • HKKT ambulances: 10 Honda StepWGN vehicles modified with the cooperation of the National Institute for Emergency Medicine.
  • Motorlances: 10 Honda CBR250R motorcycles modified to provide versatile rescue and transport of COVID-19 patients. 
  • Negative Pressure Mobile Beds: 100 units produced by volunteer production associates of Honda Automobile (Thailand) Co., Ltd.
  • Face Shields: 1,000 units produced by volunteer associates of Thai Honda Manufacturing Co., Ltd. and A.P. Honda Co., Ltd.  
  • Personal Protective Equipment Suits (PPE Suits): 10,000 sets for frontline medical staff responsible for COVID-19 patients.
  • Face Masks: 100,000 units purchased from the Department of Corrections to distribute in communities near the hospitals.

All of Honda’s customers are a crucial part of this contribution, as the 40-million-baht budget provided by the HKKT Fund is generated from the sale of cars, motorcycles, and power products. The effort reinforces the HKKT Fund’s strong commitment to stand with Thai people and provide a wide range of support to help deal with the COVID-19 pandemic. Honda will continue to make contributions and adhere to its purpose of creating value and being an organization that Thai society wants to exist.   

http://www.autofulltravel.com

https://www.facebook.com/autofulltravel/