วัดพนัญเชิง กับ วันมาฆบูชา ที่มีความสำคัญทางศาสนาพุทธ ถูกหล่อหลอมในจิตใจพุทธสานิกชนไทยมาอย่างยาวนาน
  • 01 Mar 2018
  • Thailand

วัดพนัญเชิง กับ วันมาฆบูชา ที่มีความสำคัญทางศาสนาพุทธ ถูกหล่อหลอมในจิตใจพุทธสานิกชนไทยมาอย่างยาวนาน

ประวัติย่อ วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิงเป็นวัดเก่า สร้างสมัยเมืองอโยธยาเป็นราชธานี ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช (พระเจ้าสายน้ำผึ้ง) ครองเมืองเสนาราชนคร ตั้งอยู่ปากน้ำแม่เบี้ยเป็นผู้สร้างวัดนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระนางสร้อยดอกหมาก พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (สมเด็จพระเอกาทศรฐ) เป็นผู้สร้างพระเจ้าพะแนงเชิง คือ องค์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) สร้างก่อนกรุงศรีอยุธยา 26 ปี สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าสายน้ำผึ้งผู้เป็นพระอัยยกา นามเดิมหลวงพ่อโตเรียกว่า พระเจ้าพะแนงเชิง ในรัชการที่ 4 คือพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระพุทธไตรรัตนนายก จึงได้นามมาตลอดปัจจุบันนี้ พระมหากษัตริย์ได้อุปถัมภ์ตลอดมาโดยลำดับ วัดนี้เป็นพระอารามหลวงมาแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันนี้ก็เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คือองค์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) และพระพุทธรูปทองสมัยสุโขทัยประดิษฐานในพระอุโบสถ 2 องค์ จึงเป็นที่เคารพสักการะทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ วัดพนัญเชิงเป็นวัดเก่าแก่มานาน เสนาสนะสงฆ์และปุชนียสถานได้ชำรุดทรุดโทรมไปเป็นอันมาก ทางคณะสงฆ์และทางราชการได้ข่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับตลอด ปัจจุบันนี้ก็ได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ วัดพนัญเชิงตั้งอยู่ตำบลคลองสวนพลู ริมฝั่งแม่น้ำแควป่าศักและแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธไตรรัตนนายก ประดิษฐานพัดยศแบบแฉกลายทองรูปกลีบบัวพุ่มขาวบิณฑ์ ตั้งแต่งบนเสาสูงต่างด้ามพัด ใจพัดตกแต่งเป็นรูปเทพพนมใหญ่ล้อมรอบด้วยแนวลายรักร้อยและลายพรรณพฤกษา ขอบนอกหยักรูปกลีบบัวรวน ยอดแหลมคั่นด้วยบัวกลุ่ม 3 ชั้น คอพัด ตกแต่งเป็นพุ่มกลีบบัวแวง คล้ายขนนกซ้อน 2 ชั้น คั่นด้วยวงแหวนตรงส่วนต่อกับด้ามพัดไม้ลงรักปิดทอง จัดเป็นพัดยศที่สร้างถวายพระพุทธไตรรัตนนายกที่งดงามด้วยเชิงช่างอย่างยิ่ง สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 ถวายไว้เป็นพุทธบูชา

พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ กับการบูรณะพระพุทธไตรรัตนนายก

วันเสาร์เดือน 8 ขึ้น 4 ค่ำ .. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินไปวัดพนัญเชิง ทรงปิดทองพระพักตร์พระพุทธไตรรัตนนายกด้วยทองคำ 7,913 แผ่น ส่วนพระศอพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามพระพุทธเจ้าพนัญเชิงว่า พระไตรรัตนนายก และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชกฤษฎีกาให้เรียกนามวัดว่า วัดพนัญเชิง

ต่อมา .. 2407 ทรงติดพระเนตรถมปัด เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 5 ค่ำ ปีชวด และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี จัดตั้งเครื่องสังเวยตามธรรมเนียมจีน เป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ 5 เกิดเพลิงไหม้ผ้าห่มพระพุทธไตรรัตนนายก วันที่ 20 ธันวาคม .. 2444 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์ .. 2445 ทรงปิดทองพระพักตร์สิ้นทอง 184,807 แผ่น

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2471 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระปรางและพระหนุหลุดตกลงมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โปรดให้นายคอร์ราโก เฟโรจี (Corrado Feroci) (ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี) นายช่างปั้น กับนายกาเรตตี้ (Garetti) นายช่ายวิศวกร ดำเนินงานจนแล้วเสร็จ เดือนเมษายน .. 2472

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ เป็นอาคารทรงโรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาจั่วประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงษ์ซ้อน ตับ ด้านหน้าเป็นมุขลด มีบันไดทางขึ้นด้านข้าง ด้าน มีประตูเข้าออก ประตู บานประตูด้านนอกตกแต่งด้วยลายรดนำ้ ภาพเครื่องราชกกุฑภัณฑ์และเครื่องราชชูปโภค บานประตูด้านในเขียนสีภาพเทพทวารบาลเชิญเครื่องสูง ประวัติการสร้างตำนานว่า มีขุนนางชั้นนพระยาเชื้อสายมอญเป็นผู้สร้าง 

 

วันมาฆบูชา

คำว่ามาฆะนั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่ามาฆบุรณมีหมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

วันมาฆะบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆะบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม

ความสำคัญ วันมาฆบูชา

คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเข้าทรงแสดงโอวาทปฏิโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้ เป็นหลักการและวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนี้อหาว่าทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

ทั้งนี้ในวันมาฆบูชา ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อมๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ใต้อภิญญา 6

4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือเอหิภิกขุอุปสัมปทาและเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าวันจาตุรงคสันนิบาตซึ่งคำว่าจาตุรงคสันนิบาตนี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์ คือ

จาตุร แปลว่า    4

องค์ แปลว่า    ส่วน

สันติบาท แปลว่า    ประชุม

ดังนั้นจาตุรงคสันติบาตจึงหมายความว่าการประชุมองค์ 4” นั่นเอง

 

ทั้งนี้วันมาฆบูชาถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชาถือว่าเป็นวันพระพุทธ
ส่วนวันอาสหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

 

ประวัติ วันมาฆบูชา ในประเทศไทย

พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนอันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรก ในปี .. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐ์ จำนวน 30 รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วันพระศรีรัตนศาสดาราม

เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการพระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาฏิโมกข์ 1 กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วย จีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึง และขนมต่างๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูปสวดรับ

ในสมัยราชการที่ 4 นั้น พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาส ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชา ได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศล และประกอบกิจกรรมทางศาสนา

นอกจากนี้ในปี .. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น วันกตัญญูแห่งชาติ  อีกด้วย

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือโอวาทปฏิโมกข์ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3 คือ หลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

  1. 1.การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการ ที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)
  2. 2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตา ปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)
  3. 3.การทำจิตใจให้ผ่อนใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจให้ไม่เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่าทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั่นเอง

อุดมการณ์ 4 ได้แก่

1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ

2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น

3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

วิธีการ 6 ได้แก่

1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร

2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบะรรมเนียมประเพณีอันดีงานของสังคม

4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่างๆ

5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

ตอนเช้า : ทำบุญ ตักบาตร หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาว หวานไปทำบุญ ฟังเทศน์ที่วัด

ตอนบ่าย : ฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา

ตอนกลางคืน : จะนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัด เพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ โดยเจ้าอาวาส จะนำว่า นะโม 3 จบ จากนั้น กล่าวคำถวาย ดอกไม้ ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้ว เดินเวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ 3 รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัดเตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี

นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศิล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา