มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2560 มียอดขายอยู่ที่ 870,748 คัน * มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 13.3% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ผลักดันให้ GDP ของประเทศไทยเติบโต 3.9% ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยเติบโตครั้งแรกในรอบ 4 ปี”
สถิติการขายรถยนต์ ในปี 2560* |
ยอดขายปี 2560 |
เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2559 |
ปริมาณการขายรวม |
870,748 คัน |
+13.3% |
รถยนต์นั่ง |
345,501 คัน |
+23.5% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
525,247 คัน |
+7.4% |
รถกระบะ1ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
424,282 คัน |
+7.7% |
รถกระบะ1ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
364,706 คัน |
+9.4% |
โดยโตโยต้ามียอดขาย 240,137 คัน ลดลง 2.0% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 96,606 คัน เพิ่มขึ้น 10.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 143,531 คัน ลดลง 9.1% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหน่ึง ของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์133,458คันลดลง10.1%
*หมายเหตุ : ตัวเลขยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2560 เป็นตัวเลขประมาณการ ณ วันที่ 12 มกราคม 2561
สถิติการขายรถยนต์โตโยต้าในปี 2560* |
|
|
|
ปริมาณการขายโตโยต้า |
240,137 คัน |
ลดลง 2.0% |
ส่วนแบ่งตลาด 27.6% |
รถยนต์นั่ง |
96,606 คัน |
เพิ่มขึ้น 10.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 28.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
143,531 คัน |
ลดลง 9.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 27.3% |
รถกระบะ1ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
133,458 คัน |
ลดลง 10.1% |
ส่วนแบ่งตลาด 31.5% |
รถกระบะ1ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
109,988 คัน |
ลดลง 8.7% |
ส่วนแบ่งตลาด 30.2% |
ด้านการส่งออกในปีที่ผ่านมาโตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สําเร็จรูปจํานวน299,385คนั ลดลง6%คิดเป็นมูลค่า 159,321 ล้านบาท ตลอดจนการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 65,387 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 224,708 ล้านบาท”
สําหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ปี 2561 มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2561 มีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของ GDP ที่ 3.9%* รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีส่วนในการกระตุ้นตลาดให้เติบโต และการแนะนําผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลาย ค่ายรถยนต์ต่างๆดังนั้นเราคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศปีพ.ศ.2561จะอยู่ในระดับ900,000คันเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3.4%
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2561 |
|
|
ปริมาณการขายรวม |
900,000 คัน |
+3.4% |
รถยนต์นั่ง |
352,000 คัน |
+1.9% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
548,000 คัน |
+4.3% |
รถกระบะ1ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
424,000 คัน |
-0.1% |
รถกระบะ1ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
364,000 คัน |
-0.2% |
โดยโตโยต้าตั้งเป้าหมายการขายสําหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 300,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 113,000 คัน เพิ่มข้ึน 17.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 187,000 คัน เพิ่มข้ึน 30.3% และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 157,000 คันเพิ่มขึ้น 17.6%
ปริมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2561 |
|
|
|
ปริมาณการขายโตโยต้า |
300,000 คัน |
เพื่มขึ้น 24.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 33.3% |
รถยนต์นั่ง |
113,000 คัน |
เพื่มขึ้น 17.0% |
ส่วนแบ่งตลาด 32.1% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
187,000 คัน |
เพื่มขึ้น 30.3% |
ส่วนแบ่งตลาด 34.1% |
รถกระบะ1ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
157,000 คัน |
เพื่มขึ้น 17.6% |
ส่วนแบ่งตลาด 37.0% |
รถกระบะ1ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
133,000 คัน |
เพื่มขึ้น 20.9% |
ส่วนแบ่งตลาด 36.5% |
*หมายเหตุ: ตัวเลขการเติบโตของ GDP เป็นตัวเลขประมาณการ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2560
สําหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สําเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถรักษายอดส่งออกไว้ ที่ระด้บ 300,000 คันเนื่องมาจากผลกระทบจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญ”
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โตโยต้าขอแสดงความขอบคุณภาครัฐที่ให้การสนับสนุนอตุสาหกรรมยานยนต์ ของไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฮบริด หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (BOI)และลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)ร่วมกับกรมสรรพสามิต โตโยต้าตัดสินใจขยายการลงทุนด้วยการลงทุนสายการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศ ที่โรงงานโตโยต้าเกตเวย์ และเราจะยังคงพัฒนายนตรกรรมให้ ดียิ่งขึ้น เพื่อนําเสนอตัวเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภค
อีกทั้งเรายังพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของโตโยต้า(New Era of Toyota) ด้วย 4 เทคโนโลยีใหม่ซึ่งจะเป็น มาตรฐานของยานยนต์ในอนาคต ประกอบด้วย ระบบไฮบริดเจเนอเรชั่นใหม่ นวัตกรรมโครงสร้างใหม่ TNGA (Toyota New Global Architecture) ระบบความปลอดภัยใหม่ที่มีมาตรฐานระดับโลก และระบบนําทางและเชื่อมต่อ ผู้ขับขี่กับรถยนต์ (Toyota T-connect Telematics) ซึ่งทั้งหมดนี้เราเริ่มนําเสนอเป็นครั้งแรกใน รถซับคอมแพคเอสยูวี รุ่นใหม่ TOYOTA C-HR
นอกจากนี้เรายังคงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนความสุขให้กับสังคมไทย ผ่านการสร้างประสบการณ์ใหม่ภายใต้ แนวคิด “LIVE ALIVE” และการทํากิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ โครงการ CU Toyota Ha:mo โครงการโตโยต้าถนนสีขาว เพื่อรณรงค์ให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนนซึ่งจะครบรอบ 30 ปี ในปี นี้ โครงการเมืองสีเขียวเพื่อการรณรงค์ทางด้าน สิ่งแวด ล้อมและโครงการโ ตโ ยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ที่นำองค์ความรู้และนวัตกรรมทางความคิดของโตโยต้าไปพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจชุมชน ซึ่งจะขยายไปยังทั่วประเทศในปี 2565”
มร.ซึงาตะ กล่าวยํ้า ถึงความเช่ือมั่นในประเทศไทยว่า “ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานของรัฐบาล เรายังคงมุ่งมั่นในการมีส่วนช่วยส่งเสริมและตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งโตโยต้ามุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของวิศกรไทยในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านพันธกิจของบริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด(TDEM) เพื่อให้ ประเทศไทยเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งความสุขที่เราพร้อมขับเคลื่อนและยืนเคียงข้างกับคนไทย อย่างยั่งยืนตลอดไป”