๑๐๐ ปี ธงชาติไทย...อุทัยธานี “ปฐมเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทย”
  • 03 Dec 2017
  • Thailand

๑๐๐ ปี ธงชาติไทย...อุทัยธานี “ปฐมเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทย”

พันเอก จเร ศรีสุข เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของ การเปลี่ยนแปลงธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์

๑๒-๑๗ กันยายน ๒๕๖๐ จังหวัดอุทัยธานีโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และภาคเอกชนทุกภาคส่วนได้ร่วมกันจัดงาน ธงช้างอุทัยธานีปฐมเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทยเพื่อระลึกถึง ๑๐๐ ปีการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทย เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๖๐ . จังหวัดอุทัยธานีแห่งนี้

เรือพาสื่อมวลชนและนักท่องเที่ยวชมบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง

เวทีแสดงคู่ฝาแฝดของจังหวัดอุทัยธานี มากกว่า ๕๐ คู่

การแก้ไขธงชาติเป็นธงไตรรงค์

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ได้เสด็จแปรพระราชสำนักประพาสไปตามหัวเมืองชายนำ้ต่างๆ นั้น พระองค์ทรงถือโอกาสเสด็จตรวจราชการที่เมืองอุไทยธานีด้วย มีผู้เล่าคือจมื่นอมรดรุรักษ์เขียนไว้ในวชิราวุธานุสรณ์.. ๒๔๙๖เรื่องธงชาติไทยว่าเรือยนต์พระที่นั่งประจำทวีป นำโดยเรือยนต์ของจังหวัด ที่มาคอยเฝ้าแน่นขนัดสองฝั่งแม่น้ำสะแกกรังอย่างล้นหลาม ศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำ อันเป็นศูนย์กลางของตัวเมือง ที่เรือพระที่นั่งเข้าจอดเทียบท่าเป็นฉนวนใหญ่ยาว หลังคามุงจากสูงรโหฐาน ตัวพลับพลารูปลักษณะสี่เหลี่ยมทำนองศาลา นับว่าเป็นศิลปะของไทย แท้ที่จริงทำด้วยความฉลาดสามารถเป็นที่สะดุดตา อย่างอวดฝีมือกันทีเดียว ทั้งนี้ปรากฏว่าเป็นที่สบพระราชหฤทัยและถึงกับรับสั่งชมเชยเป็นอันมาก

 

ครั้งวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันกำหนดเสด็จประพาส วัดเขาสะแกกรัง บรรดาผู้ตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งพระองค์ด้วย พระภูษาม่วงหางกระรอก สีปีกแมลงทับ ส่วนฉลองพระองค์แพรขาวแบบข้าราชการ กระดุมทองลงยาห้าเม็ด ทรงพระมาลาแบบปีกกว้างหางนกยุงมีทานพระกรอยู่ในพระหัตถ์ และทรงฉลองพระบาทสวมหุ้มสันอย่างธรรมดาก็เสด็จขึ้นประทับนั่งพระแคร่หามโดยพระตำรวจหลวง ซึ่งแต่งกายแบบไทยเดิมคือ นุ่งม่วงสีนำ้เงินสวมเสื้อนอกกรดุมห้าเม็ดสีขาวคาดรัดประคดแดง ใส่ถุงเท้าขาวและรองเท้าขาว สวมหมวกทรงประพาส มีมหาดเล็กถวายพระกรดเดินเคียงไปใกล้ๆแวดล้อมด้วยราชองค์รักษ์ทั้งสี่และข้าราชการบริพารใหญ่น้อยตามลำดับชั้นเคลื่อนขบวนเสด็จออกจากพลับพลาหน้าเมืองไปตามถนนเรียบริมน้ำ ท่ามกลางประชาชนที่คอยเฝ้าชมพระบารมีอยู่แออัดตลอดทาง ฯลฯ ขบวนเสด็จผ่านไปที่ถึงใด ก็พากันหมอบก้มกราบลงกับพื้นถนนและแซ่ซ้องร้องสาธุการ ด้วยความชื่นชมพระบรมีทั้งนี้เพราะว่าดวงพระพักตร์อันอิ่มไปด้วยกุศลบุญราศีแห่งองค์อย่างทั่วถึงนั้น ราวจะบอกให้รู้ได้ชัดว่าพระองค์นั้นเป็นมหามิตรผู้ยิ่งใหญ่ เป็นภาพการพบปะระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรที่ตรึงใจอย่างยิ่ง

 

ในระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจ รอรับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบธงที่สมมาตร เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนฝ้ามีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่าธงแดงขาว 5 ริ้งแต่เมื่อทรงพิจารณาดูแล้วไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย เพราะดูจืดชืดไม่งดงาม จึงทรงคิดหาวิธีตกแต่งให้งดงาม  ทรงระลึกถึงสีนำ้เงินอันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ ซึ่งทรงยึดถือเป็นสีประจำพระองค์อยู่แล้ว ทรงจัดวางรูปริ้วผ้าใหม่ โดนนำริ่วสีนำ้เงินที่ใหญ่เป็น เท่าของสีขาวและสีแดงไว้ตรงกลางขนาบด้วนสีขาวทั้งล่างและบน โดยมีสีแดงอยู่ริมสองข้างทรงพระราชทานนามว่าธงไตรรงค์และในวันที่ ๒๘ กันยายน .. ๒๔๖o ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติธง พูทธศัดราช ๒๔๖o ให้ใช้ธงใหม่ของสยามเป็น ธงไตรรงค์สามสีซึ่งใช้มาจนมาถึงปัจจุบัน

 

ขอบคุณข้อมูลจากนิทรรศการ๑๑๑ ปีเสด็จประพาสต้น เมืองอุไทยธานี