ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อุไทยธานีเป็นเมืองหน้าด่านและมีทรัพยากรป่าไม้อยู่มากจึงเป็นแหล่งเส้นทางขนส่งของช้างโคและไม้ เพื่อใช้ในการทำสงครามไปยังกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้บ้านสะแกกรังยังเป็นแหล่งค้าข้าวคุณภาพดีในลุ่มน้ำภาคกลาง ซึ่งจะมีเกวียนและรถบรรทุกข้าวจำนวนมากมาซื้อขายแลกเปลี่ยน ณ ที่นี่
สมัย รัชการที่ 3 บ้านท่าซุงถือเป็นแหล่งผลิตแร่เหล็กที่สำคัญของประเทศ โดยมีคนจีนเป็นคนงานถลุงเหล็ก ภายหลังเลิกโรงงานถลุงเหล็กชุมชนชาวจีนจึงย้ายมาตั้งชุมชนที่บ้านสะแกกรัง ตั้งยุ้งฉาง, ซื้อข้าวเปลือก, ตั้งโรงสี, ยึดอาชีพตีเหล็กทำมีด, เคียว สืบมา ดูหลักฐานชุมชนชาวจีน จากการตั้งศาลเจ้าต่างๆ เช่น ศาลเจ้าปุนเถ้าถง (ศาลหลักเมือง), ศาลเจ้าแม่ทับทิม, ศาลเจ้าพ่อกวนอู และการทำสินค้าบริโภค เช่น เต้าเจี้ยว, น้ำปลา, ยาจีน, การสร้างบ้านเรือนต่างๆ และสถานบริการแพทย์แผนจีน(ฮกแซตึ๊ง)
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบ้านสะแกกรัง คือ การเกิดไฟไหม้ใหญ่เมื่อ 18 มีนาคม 2478 ตั้งแต่วัดขวิดจนถึงท่าต้นจันทร์ ทำให้สภาพบ้านไม้ที่สร้างชิดติดกันและถนนที่แคบถูกไฟไหม้จนหมด ยกเว้นบริเวณวิหารวัดขวิดในตลาดเทศบาลในปัจจุบัน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงถมที่ดินริมแม่น้ำ ขยายถนนก่อสร้างบ้านเมืองใหม่ ที่สามารถเห็นได้จนถึงปัจจุบัน คือ ทางราชการได้ก่อสร้างตึกแถวขึ้นใหม่ในเขตรอบๆ วัดขวิด รวมถึงสร้างโรงหนังเพื่อความบันเทิงของท้องถิ่น คือ วิกนิวเฉลิมอุทัย ส่วนเอกชนก็จะสร้างเป็นห้องแถวไม้ขึ้นทดแทนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมืองอุทัยเป็นเมืองที่ค่อนข้างสงบ และไม่เป็นทางผ่าน นอกจากผู้ที่ตั้งใจมาจริงๆ จึงทำให้บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงน้อยเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ทำให้บ้านเมืองยังมีความสงบและเรียบง่าย และมีวิถีชีวิตไทยดั้งเดิมที่เป็นได้ในหลายแห่งจนมี คำกลอนว่า
“ถึงอุทัยไม่ต้องอุธรณ์ คำแล้วก็นอนที่เมืองอุทัย
แม้ใครได้ดำน้ำสามผุด ก็ไม่หลุดไปจากอุทัย”
ในอีกมุมหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ การดำรงชีวิต ต้องอาศัยแม่นำ้ลำคลองเป็นหลัก เริ่มจากที่อยู่อาศัย การไปมาหาสู่กันโดยทางเรือและการประกอบอาชีพ เช่นเดียวกับวิถีชีวิตชุมชนชาวแพจังหวัดอุทัยธานี ที่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของแม่นำ้สะแกกรัง ในการประกอบอาชีพ ปลูกเตยหอม และ เลี้ยงปลาในกระชังกันเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ ในปัจจุบันชุมชนชาวแพจังหวัดอุทัยธานีแห่งนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชาวอุทัยธานี สามารถสร้างรายได้ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนได้ตลอดทั้งปี
www.autofulltravel.com
ขอบคุณที่กดติดตาม SUBSCRIBE บน youtobe ด้วยค่ะ